กีฬาบาสเกตบอล ประวัติความเป็นมาของกีฬายอดนิยมของชาวอเมริกันชน

กีฬาบาสเกตบอล

ประวัติความเป็นมาของ กีฬาบาสเกตบอล จากกีฬาที่ถูกคิดค้นไว้เล่นในฤดูหนาว

กีฬาบาสเกตบอล ถือว่าเป็นกีฬายอดนินมของชาติอเมริกัน ซึ่งเป็นกีฬาที่ถูกคิดขึ้นมาเพื่อต้องการช่วยเหลือสมาชิก Y.M.C.A. หรือ Young Men’s Christian Association ซึ่งเป็นสมาคมสำหรับชายหนุ่มเพื่อการพัฒนาเล่นกีฬา โดยพวกเขาได้คิดค้นกีฬาที่ทำให้สามารถเล่นกีฬาในฤดูหนาวได้ เนื่องจากสภาพอากาศในช่วงฤดูหนาวนั้น จะมีหิมะปกคลุม ทำให้ไม่สามารถเล่นกีฬากลางแจ้งได้ เช่นพวก อเมริกันฟุตบอล เบสบอล ดังนั้นคณะกรรมการสมาคม Y.M.C.A. ได้พยายามหาหนทางแก้ไขให้บรรดาสมาชิกทั้งหลาย ให้ได้เล่นกีฬาในช่วงฤดูหนาวโดยไม่บังเกิดความเบื่อหน่าย

ในปี ค.ศ.1891 Dr. James A. Naismith ครูสอนพลศึกษาของ The International Y.M.C.A. Training School อยู่ที่เมือง Springfield รัฐ Massachusetts ได้รับมอบหมายจาก Dr. Gulick ให้เป็นผู้คิดค้นการเล่นกีฬาในร่ม ที่เหมาะสม ที่จะใช้เล่นในช่วงฤดูหนาว

Dr.James ได้พยายามคิดค้นดัดแปลงการเล่นกีฬาอเมริกันฟุตบอลและเบสบอลเข้าด้วยกัน และให้มีการเล่นที่เป็นทีมในครั้งแรก Dr. James ได้ใช้ลูกฟุตบอลและตะกร้าเป็นอุปกรณ์สำหรับให้นักกีฬาเล่น เขาได้นำตะกร้าลูกพีชไปแขวนไว้ที่ฝาผนังของห้องพลศึกษา แล้วให้ผู้เล่นพยายามโยนลูกบอลลงในตะกร้านั้นให้ได้

โดยใช้เนื้อที่สนามสำหรับเล่นให้มีขนาดเล็กลงแบ่งผู้เล่นออกเป็นข้างละ 7 คน ผลการทดลองครั้งแรกผู้เล่นได้รับความสนุกสนานตื่นเต้น แต่ขาดความเป็นระเบียบ มีการชนกัน ผลักกัน เตะกัน

อันเป็นการเล่นที่รุนแรงในการทดลองนั้น ต่อมา Dr. James ได้ตัดการเล่นที่รุนแรงออกไป และได้ทำการวางกติกาห้ามผู้เล่นเข้าปะทะถูกเนื้อต้องตัวกัน นับได้ว่าเป็นหลักเบื้องต้นของการเล่นบาสเกตบอล Dr.James จึงได้วางกติกาการเล่นบาสเกตบอลไว้เป็นหลักใหญ่ๆ 4 ข้อ ด้วยกัน คือ

  1. ผู้เล่นที่ครอบครองลูกบอลอยู่นั้นจะต้องหยุดอยู่กับที่ห้ามเคลื่อนที่ไปไหน
  2. ประตูจะต้องอยู่เหนือศีรษะของผู้เล่น และอยู่ขนานกับพื้น
  3. ผู้เล่นสามารถครอบครองบอลไว้นานเท่าใดก็ได้ โดยคู่ต่อสู้ไม่อาจเข้าไปถูกต้องตัวผู้เล่นที่ครอบครองบอลได้
  4. ห้ามการเล่นที่รุนแรงต่าง ๆ โดยเด็ดขาด ผู้เล่นทั้งสองฝ่ายจะต้องไม่กระทบกระแทกกัน

กีฬาบาสเกตบอล

จุดเริ่มต้นและกติกาของ กีฬาบาสเกตบอล กีฬายอดนิยมของชาวอเมริกันชน

หลังจากได้มีการวางกติกามาแบบนั้น ก็ได้มีการนำไปทดลอง และก็มีการพยายามปรับปรุงแก้ไขระเบียบการเล่นให้ดีขึ้น เหมาะสม โดยเขาได้พยายามลดจำนวนผู้เล่นลง เพื่อไม่ให้มีการปะทะเกิดขึ้น จนในที่สุด ก็ได้มีการกำหนดผู้เล่นไว้ ฝ่ายละ 5 คน ซึ่งเป็นจำนวนที่เหมาะสมที่สุดในตอนนั้น ที่เข้ากับขนาดเนื้อที่ของสนาม Dr. James ได้ทดลองเล่นหลายครั้ง และพัฒนาการเล่นเรื่อยมา

จนกระทั่งเขาได้เขียนกติกาการเล่นไว้เป็นจำนวน 13 ข้อ ด้วยกัน และนั้นก็กลายเป็นกฎกติกาการเล่น ที่อยู่บนกระดานเกียรติยศ ของโรงเรียนพลศึกษา ณ Springfield ตาบจนปัจจุบันนี้

กติกา 13 ข้อ ของ Dr.James ผู้คิดค้นกีฬาบาสเกตบอล มีดังนี้

  1. ผู้เล่นห้ามถือลูกบอลแล้ววิ่ง
  2. ผู้เล่นจะส่งบอลไปทิศทางใดก็ได้ โดยใช้มือเดียวหรือสองมือก็ได้
  3. ผู้เล่นจะเลี้ยงบอลไปทิศทางใดก็ได้ โดยใช้มือเดียวหรือสองมือก็ได้
  4. ผู้เล่นต้องใช้มือทั้งสองเข้าครอบครองบอล ห้ามใช้ร่างกายช่วยในการครอบครองบอล
  5. ในการเล่นจะใช้ไหล่กระแทก หรือใช้มือดึง ผลัก ตี หรือทำการใดๆให้ฝ่ายตรงข้ามล้มลง ไม่ได้ ถ้าผู้เล่นฝ่าฝืนถือเป็นการฟาวล์ 1 ครั้ง ถ้า ฟาวล์ 2 ครั้ง หมดสิทธิ์เล่น จนกว่าฝ่ายหนึ่ง ฝ่ายใดทำประตูกันได้จึงจะกลับมาเล่นได้อีก ถ้าเกิดการบาดเจ็บระหว่างการแข่งขัน จะไม่มีการเปลี่ยนตัวผู้เล่น
  6. ห้ามใช้ขาหรือเท้าแตะลูก ถือเป็นการฟาวล์ 1 ครั้ง
  7. ถ้าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดทำฟาวล์ติดต่อกัน 3 ครั้ง ให้อีกฝ่ายหนึ่งได้ประตู
  8. ประตูที่ทำได้หรือนับว่าได้ประตูนั้น ต้องเป็นการโยนบอลให้ลงตะกร้า ฝ่ายป้องกันจะไปยุ่งเกี่ยวกับประตูไม่ได้เด็ดขาด
  9. 9. เมื่อฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดทำลูกบอลออกนอกสนาม ให้อีกฝ่ายหนึ่งส่งลูกเข้ามาจากขอบสนาม ภายใน 5 วินาที ถ้าเกิน 5 วินาที ให้เปลี่ยนส่ง และถ้าผู้เล่นฝ่ายใดพยายามถ่วงเวลาอยู่เสมอให้ปรับเป็นฟาวล์
  10. ผู้ตัดสินมีหน้าที่ตัดสินว่าผู้เล่นคนใดฟาวล์ และลงโทษให้ผู้เล่นหมดสิทธิ์
  11. ผู้ตัดสินมีหน้าที่ตัดสินว่าลูกใดออกนอกสนาม และฝ่ายใดเป็นฝ่ายส่งลูกเข้าเล่น และจะทำ หน้าที่เป็นผู้รักษาเวลาบันทึกจำนวนประตูที่ทำได้ และทำหน้าที่ทั่วไปตามวิสัยของผู้ตัดสิน
  12. การเล่นแบ่งออกเป็น 2 ครึ่งๆละ 20 นาที
  13. ฝ่ายที่ทำประตูได้มากที่สุดเป็นผู้ชนะ ในกรณีคะแนนเท่ากันให้ต่อเวลาออกไป และถ้าฝ่ายใด ทำประตูได้ก่อนถือว่าเป็นฝ่ายชนะ

ถึงแม้ว่า กติกาการเล่น จะมีการกำหนดขึ้นมา เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุเล่นเพื่อความสนุกในแง่นันทนาการ ทว่ากีฬานี้กลับได้รับความนิยมจากเยาวชนอย่างรวดเร็ว ทั้ง ๆ ที่มีผู้คนจำนวนส่วนใหญ่มองว่า นี่เป็นกีฬาสำหรับคนอ่อนแอ และพยายามที่จะพิสูจน์ความเห็นนี้ด้วยการหาเรื่องทะเลาะวิวาทกับผู้เล่นบาสเกตบอลบ่อยครั้งก็ตาม

อย่างไรก็ดี ความรู้สึกเช่นนี้ค่อย ๆ จางหายไปอย่างรวดเร็วเช่นเดียวกัน เพราะความแม่นยำในการเล่นบาสเกตบอล ก็สร้างความประทับใจและดึงความสนใจของผู้คนเพิ่มมากขึ้นด้วย จึงได้แพร่กระจายความนิยมออกไป ทางตะวันออกของอเมริกาอย่างรวดเร็ว และเมื่อหลาย ๆ โรงเรียนได้ตระหนักถึงความสำคัญของกีฬานี้ จึงได้พากันเริ่มเล่นทั่วประเทศ

ก่อนปี ค.ศ. 1915 ถึงแม้ว่าบาสเกลบอล จะเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมอย่างล้นหลามก็ตาม แต่ก็ถูกจำกัดเป็นเพียงการเล่นเพื่ออกกำลังกายในห้องพลศึกษา ยังไม่ได้องค์กรใดรับผิดชอบจัดการเล่นแบบเป็นกิจลักษณะ ยกเว้นองค์กรบาสเกตบอลอาชีพที่เกิดขึ้นมา 2-3 องค์กรแล้วก็เลิกล้มไป ดังนั้นการเล่น บาสเกตบอลในแต่ละที่แต่ละแห่งจึงต่างก็ใช้กติกาผิดแผกแตกต่างกันออกไป ไม่มีความตรงกัน ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการเจริญเติบโต และการพัฒนากีฬาบาสเกตบอลเป็นอย่างมาก

ต่อมาในปี ค.ศ. 1915 สมาคม Y.M.C.A. สมาคมกีฬามหาวิทยาลัยแห่งชาติและสมาพันธ์กีฬาสมัครเล่น ได้ร่วมประชุมเพื่อร่างกติกาการเล่นบาสเกตบอลขึ้นมาเพื่อเป็นบรรทัดฐานเดียวกัน กติกานี้ไดใช้สืบมาจนกระทั่งปี ค.ศ. 1938 และได้รับการปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกครั้งที่ 11 ณ กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมันนี

โดยคณะกรรมการโอลิมปิกนานาชาติเป็นผู้พิจารณาสหรัฐอเมริกายอมรับการเล่นบาสเกตบอลเป็นกีฬาประจำชาติเมื่อวันที่ 20 มกราคม ค.ศ. 1892 ซึ่งได้มีการเล่นบาสเกตบอลอย่างเป็นทางการขึ้นเป็นครั้งแรก สมาคม Y.M.C.A. ได้นำกีฬาบาสเกตบอลไปเผยแพร่ในทุกส่วนของโลก ได้แพร่เข้าไปในประเทศจีนและอินเดียในราวปี ค.ศ. 1894, ฝรั่งเศส

ในราวปี ค.ศ. 1895, ญี่ปุ่นราวปี ค.ศ. 1900 เกือบจะกล่าวได้ว่า บาสเกตบอลมีการเล่นในทุกประเทศทั่วโลก ตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 และคาดว่าก่อนปี ค.ศ. 1941 มีประชาชนทั่วโลกเล่นกีฬาบาสเกตบอลเป็นจำนวนถึง 20 ล้านคน ในขณะนี้มีผู้นิยมเล่นบาสเกตบอลกันทั่วทุกมุมโลก ไม่น้อยกว่า 52 ประเทศ นอกจากนี้ได้มีการแปลกติกาการเล่นเป็นภาษาต่างๆมากกว่า 30 ภาษา

กีฬาบาสเกตบอล

ประวัติบาสเกตบอลในประเทศไทย ความเป็นมาเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่เมื่อไหร่

ต้องบอกว่าทางฝั่งบ้านเรา กีฬาบาสเกตบอลเองก็แพร่หลายเข้ามาในประเทศไทย แต่ทว่าเมื่อไหร่ที่เป็นครั้งแรก ที่กีฬานี้เข้ามากลายเป็นที่รู้จักนั้น ไม่ได้มีหลักฐานที่จะปรากฏยืนยันแน่ชัดได้ ทราบแต่เพียงว่า ในปี พ.ศ.2477 นายนพคุณ พงษ์สุวรรณ อาจารย์สอนภาษาจีนที่โรงเรียนมัธยมวัดบพิตรพิมุข ได้ช่วยเหลือกรมพลศึกษาจัดแปลกติกาการเล่นบาสเกตบอลขึ้น

ต่อมาในปี พ.ศ. 2478 กระทรวงธรรมการ ได้จัดการอบรมครูจังหวัดต่าง ๆ จำนวน 100 คน ภายในระยะเวลา 1 เดือน และได้รับความช่วยเหลือจาก พ.ต.อ. หลวงชาติตระการโกศล ผู้ซึ่งมีความรู้และเชี่ยวชาญทางการเล่นกีฬาบาสเกตบอลคนหนึ่ง และเคยเป็นตัวแทนของมหาวิทยาลัยเข้าร่วมการแข่งขัน เมื่อครั้งกำลังศึกษาอยู่ในสหรัฐอเมริกา มาเป็นผู้บรรยายเกี่ยวกับเทคนิคและวิธีเล่นบาสเกตบอลแก่บรรดาครูที่เข้ารับการอบรม ต่อมาก็เป็นผลทำให้กีฬาบาสเกตบอลแพร่หลายไปทั่วประเทศไทย

ในปี พ.ศ. 2496 สมาคมบาสเกตบอลสมัครเล่นแห่งประเทศไทยได้ถูกจัดตั้งขึ้น โดยจดทะเบียนที่สภาวัฒนธรรมแห่งชาติ และได้กลายมาเป็นสมาคมบาสเกตบอลแห่งประเทศไทยในปีเดียวกันนั้นเอง และในวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2496 สมาคมบาสเกตบอลแห่งประเทศไทยก็ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของสมาคมบาสเกตบอลระหว่างประเทศ

กติกาบาสเกตบอล

บาสเกตบอล เป็นกีฬาที่เล่นระหว่างผู้เล่น 2 ชุด ชุดละ 5 คน โดยมีจุดมุ่งหมายว่า แต่ละชุดต้องนำลูกบอลไปโยนให้ลงห่วงประตูของคู่แข่งขันให้ได้ และพยายามป้องกันไม่ให้อีกฝ่ายได้ครอบครองลูกบอล หรือทำคะแนน ทั้งนี้ผู้เล่นอาจจะส่ง โยน ปัดกลิ้ง หรือเลี้ยงลูกบอลไปยังทิศทางใดก็ได้ให้ถูกต้องตามกติกา

แต่ละทีมจะประกอบไปด้วยผู้เล่นไม่เกิน 10 คน และโค้ช 1 คน ผู้เล่นคนใดคนหนึ่งจะเป็นหัวหน้าทีม แต่ละทีมอาจจะมีผู้ช่วยโค้ชอีก 1 คน สำหรับทัวร์นาเมนต์ที่ทีมนั้นจะต้องแข่งขันมากกว่า 3 ครั้ง จำนวนผู้เล่นในแต่ละทีมอาจจะเพิ่มเป็น 12 คนก็ได้

ผู้เล่น 5 คนของแต่ละทีมจะต้องอยู่ในสนามแข่งขันระหว่างเวลาการแข่งขัน และสามารถเปลี่ยนตัวผู้เล่นได้ตามที่ระบุไว้ในกติกา ผู้เล่นของทีมคือผู้เล่นที่อยู่ในสนามแข่งขัน และถูกกำหนดว่าจะลงแข่งขันนอกเหนือจากนี้แล้วจะเป็นผู้เล่นสำรอง ดังนั้นผู้เล่นสำรองจะกลายเป็นผู้เล่นเมื่อผู้ตัดสินได้ให้สัญญาณแจ้งให้เขาเข้าไปในสนามแข่งขัน และผู้เล่นจะกลายเป็นผู้เล่นสำรองทันทีที่ผู้ตัดสินได้ส่งสัญญาณแก่ผู้ที่จะเข้ามาแทนผู้เล่นคนนั้นให้เข้าไปในสนามแข่งขัน

ผู้เล่นแต่ละคนจะต้องมีหมายเลขที่ด้านหน้าและด้านหลังของเสื้อที่ตนสวมใส่ โดยมีลักษณะเรียบธรรมดา (ไม่มีลวดลาย) และมีสีทึบติดกับเสื้อ หมายเลขจะต้องเด่นชัด สำหรับหมายเลขที่ติดด้านหลังจะต้องสูงไม่น้อยกว่า 20 เซนติเมตร และหมายเลขที่ติดด้านหน้าจะต้องสูงไม่น้อยกว่า 10 เซนติเมตร ทำด้วยวัสดุที่กว้างไม่น้อยกว่า 2 เซนติเมตร ทีมหนึ่ง ๆ จะต้องใช้หมายเลขตั้งแต่ 4 ถึง 15 ผู้เล่นในทีมเดียวกันจะต้องไม่ใช้หมายเลขซ้ำกัน

ติดตามเว็บไซต์ที่น่าสนใจเพิ่มเติม : เว็บดูบอลสดฟรี

อ่านบทความเพิ่มเติม >>> ฟุตบอลกับการพนัน