ประวัติกีฬาตะกร้อ ความเป็นมาของกีฬาพื้นเมืองแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ประวัติกีฬาตะกร้อ

ประวัติกีฬาตะกร้อ ความเป็นมา กีฬาพื้นเมืองของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ประวัติกีฬาตะกร้อ กีฬากะกร้อ เป็นกีฬาการละเล่นของไทยมาตั้งแต่โบราณ แต่ไม่มีหลักฐานแน่นอน ว่ามีตั้งแต่สมัยไหน คาดว่าเกิดขึ้นราว ๆ ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ แน่นอนว่าประเทศอื่น ๆ ที่ใกล้เคียงในภูมิภาคเอเชีย ก็มีการเล่นตะกร้อเหมือนกัน และคนเล่นจะไม่จำกัดจำนวน เล่นเป็นหมู่ หรือเป็นเดี่ยวก็ได้ ตามลานที่กว้างพอสมควร ตะกร้อที่ใช้หวายถักเป็นลูกตะกร้อ ปัจจุบันใช้เป็นตะกร้อพลาวติกแล้ว

แล้วการเตะตะกร้อ ก็เป็นการละเล่นที่ผู้เล่น จะได้ออกกำลังกายทุกส่วน แถมได้ฝึกความว่องไว การสังเกต และไหวพริบ ทำให้ผู้เล่นมีบุคลิกภาพดี แถมยังมีความสง่างาม เพราะการเล่นตะกร้อ นับว่าเป็นเอกลักษณ์ของไทยอย่างหนึ่ง

สำหรับหลักฐานเกี่ยวกับแหล่งกำเนิดของกีฬาชนิดนี้นั้น ยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้อย่างชัดเจน ว่ากีฬานี้เริ่มต้นมาจากที่ใด แต่จากการสันนิษฐานคงจะได้หลายเหตุผล โดยในประเทศพม่า เมื่อประมาณ พ.ศ. 2310 พม่ามาตั้งค่ายอยู่ที่โพธิ์สามต้น ก็เลยเล่นกีฬาตะกร้อกัน ซึ่งทางพม่าเรียกว่า “ชิงลง”

ทางมาเลเซียก็ประกาศว่า ตะกร้อเป็นกีฬาของประเทศมาลายูเดิมเรียกว่า ซีปักรากา (Sepak Raga) คำว่า Raga หมายถึง ตะกร้า ทางฟิลิปปินส์ ก็นิยมเล่นกันมานานแล้วแต่เรียกว่า Sipak

ทางประเทศจีน ก็มีกีฬาที่คล้ายกีฬาตะกร้อ แต่เป็นการเตะตะกร้อชนิดที่เป็นลูกหนังปักขนไก่ ซึ่งจะศึกษาจากภาพเขียนและพงศาวดารจีน ชาวจีนกวางตุ้งที่เดินทางไปตั้งรกรากในอเมริกา ได้นำการเล่นตะกร้อขนไก่นี้ ไปเผยแพร่ แต่เรียกว่า เตกโก (Tek K’au) ซึ่งหมายถึงการเตะลูกขนไก่

ประเทศเกาหลี ก็มีลักษณะคล้ายกับของจีน แต่ลักษณะของลูกตะกร้อแตกต่างไป คือใช้ดินเหนียวห่อด้วยผ้าสำลีเอาหางไก่ฟ้าปัก ประกาศไทยก็นิยมเล่นกีฬาตะกร้อมายาวนาน และประยุกต์จนเข้ากับประเพณี ของชนชาติไทยอย่างกลมกลืน และสวยงาม

ประวัติกีฬาตะกร้อ

ประวัติกีฬาตะกร้อ ประวัติกีฬาตะกร้อในประเทศไทย

ในสมัยโบราณ ประเทศไทย มีกฎหมายและวิธีการลงโทษผู้กระทำความผิด โดยการนำเอานักโทษใส่ลงไปในสิ่งกลม ๆ ที่สานด้วยหวายให้ช้างเตะ แต่สิ่งที่ช่วยสนับสนุนประวัติของตะกร้อได้ดี คือ ในพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา ของรัชกาลที่ 2  ที่บางตอนมีกล่าวถึงการเล่นตะกร้อ และที่ระเบียงพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งเขียนเรื่อง รามเกียรติ์ ก็มีภาพการเล่นตะกร้อแสดงไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้รับรู้

ภูมิศาสตร์ประเทศไทย ก็ส่งเสริมประวัติของตะกร้อ เพราะประเทศไทยนั้นอุดมไปด้วย ไม้ไผ่ หวาย คนไทยจึงนิยมนำเอาหวายมาสานเป็นสิ่งของเครื่องใช้ รวมถึงการละเล่นพื้นบ้าน

อีกทั้งประเภทของกีฬาตะกร้อในประเทศไทย มีหลายประเภท เช่น ตะกร้อวง ตะกร้อลอดห่วง ตะกร้อชิงธงและการแสดงตะกร้อพลิกแพลงต่าง ๆ ซึ่งการเล่นตะกร้อของประเทศอื่น ๆ นั้นมีการเล่นไม่หลายแบบหลายวิธีเช่นของไทย

การเล่นตะกร้อมีวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่องมาตามลำดับทั้งด้านรูปแบบและวัตถุดิบในการทำจากสมัยแรกเป็นผ้า , หนังสัตว์ , หวาย , จนถึงประเภทสังเคราะห์ ( พลาสติก )

ความหมาย คำว่าตะกร้อ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้คำจำกัดความเอาไว้ว่า ”ลูกกลมสานด้วยหวายเป็นตา สำหรับเตะ“

ประวัติกีฬาตะกร้อ

วิวัฒนาการการเล่นกีฬาตะกร้อ

ตะกร้อ มีวิวัฒนาการ มาอย่างต่อเนื่อง ในสมัยแรก ๆ เป็นเพียงการช่วยกันเตะลูกไม่ให้ตกถึงพื้น ต่อมาเมื่อเกิดความชำนาญ และหลีกหนีความจำเจ ก็คงมีการเริ่มเล่นด้วยศีรษะ เข่า ศอก ไหล่ มีการจัดเพิ่มท่าให้ยากและสวยงามขึ้นตามลำดับ จากนั้นก็ตกลงวางกติกาการเล่น โดยเอื้ออำนวยต่อผู้เล่นเป็นส่วนรวม อาจแตกต่างไปตามสภาพภูมิประเทศของแต่ละพื้นที่ แต่คงมีความใกล้เคียงกันมากพอสมควร

ตะกร้อ มีมากมายหลายประเภท เช่น ตะกร้อข้ามตาข่าย, ตะกร้อลอดบ่วง, ตะกร้อพลิกแพลงเป็นต้น เมื่อมีการวางกติกาและท่าทางในการเล่นอย่างลงตัวแล้วก็เริ่มมีการแข่งขันกันเกิดขึ้นในประเทศไทยตาม

ประวัติของการกีฬาตะกร้อตั้งแต่อดีตที่ได้บันทึกไว้ดังนี้

พ.ศ. 2472 กีฬาตะกร้อเริ่มมีการแข่งขันครั้งแรกภายในสมาคมกีฬาสยาม

พ.ศ. 2476 สมาคมกีฬาสยามประชุมจัดร่างกติกาในการแข่งขันกีฬาตะกร้อข้ามตาข่ายและเปิดให้มีการแข่งขันในประเภทประชาชนขึ้นเป็นครั้งแรก

พ.ศ. 2479 ทางการศึกษาได้มีการเผยแพร่จัดฝึกทักษะในโรงเรียนมัธยมชายและเปิดให้มีแข่งขันด้วย

พ.ศ. 2480 ได้มีการประชุมจัดทำแก้ไขร่างกฎระเบียบให้สมบูรณ์ขึ้น โดยอยู่ในความควบคุมดูแลของ เจ้าพระยาจินดารักษ์ และกรมพลศึกษาก็ได้ออกประกาศรับรองอย่างเป็นทางการ

พ.ศ. 2502 มีการจัดการแข่งขันกีฬาแหลมทอง ครั้งที่ 1 ขึ้นที่กรุงเทพฯ มีการเชิญนักตะกร้อชาวพม่ามาแสดงความสามารถในการเล่นตะกร้อพลิกแพลง

พ.ศ. 2504 กีฬาแหลมทองครั้งที่ 2 ประเทศพม่าได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพในการแข่งขัน นักตะกร้อของไทยก็ได้ไปร่วมแสดงโชว์การเตะตะกร้อแบบพลิกแพลงด้วย

พ.ศ. 2508 กีฬาแหลมทองครั้งที่ 3 จัดขึ้นที่ประเทศมาเลเซีย ได้มีการบรรจุการเตะตะกร้อ 3 ประเภท เข้าไว้ในการแข่งขันด้วยก็คือ ตะกร้อวง, ตะกร้อข้ามตาข่าย,  ตะกร้อลอดบ่วง

หลังจบกีฬาแหลมทองครั้งที่ 3 กีฬาตะกร้อได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเป็นอันมาก บทบาทของประเทศมาเลเซีย เริ่มมีมากขึ้น จากการได้เข้าร่วมในการประชุมตั้งกฎกติกากีฬาตะกร้อประเภทข้ามตาข่าย หรือที่เรียกว่า ” เซปักตะกร้อ ” และส่งผลให้กีฬาตะกร้อข้ามตาข่าย ได้รับการบรรจุเข้าในการแข่งขันกีฬาแหลมทองครั้งที่ 4 จนถึงปัจจุบัน

กติกาการเล่นเซปักตะกร้อ กีฬาตะกร้อ

1.ผู้เล่น ประเภทเดี่ยว มีผู้เล่นตัวจริง 3 คน สำรอง 1 คน ประเภททีม ประกอบด้วย 3 ทีม มีผู้เล่น 9 คน และผู้เล่นสำรอง 3 คน

2. ตำแหน่งของผู้เล่น มี 3 ตำแหน่งคือ หลัง ( Back ) เป็นผู้เตะตะกร้อจากวงกลม, หน้าซ้าย, หน้าขวา

3. การเปลี่ยนตัวผู้เล่น ในทีมเดี่ยวเปลี่ยนตัวได้ 1 คน และถ้าเหลือน้อยกว่า 3 คน ถือว่าแพ้ ผู้มีชื่อในทีมเดี่ยวที่เล่นมานานแล้ว จะลงเล่นในทีมเดี่ยวต่อไปไม่ได้

4. การเสี่ยงและการอบอุ่นร่างกาย มีการเสี่ยง ผู้ชนะการเสี่ยงจะได้เลือกข้างหรือส่งลูก ทีมที่ได้ส่งลูกจะได้อบอุ่นร่างกายก่อน เป็นเวลา 2 นาที พร้อมเจ้าหน้าที่และนักกีฬาไม่เกิน 5 คน

5. ตำแหน่งของผู้เล่นระหว่างการส่งลูกเสิร์ฟ เมื่อเริ่มเล่นทั้ง 2 ทีมพร้อมในแดนของตนเอง ผู้เล่นฝ่ายเสิร์ฟจะต้องอยู่ในวงกลมของตนเอง เมื่อเสิร์ฟแล้วจึงเคลื่อนที่ได้ ส่วนผู้เล่นฝ่ายรับจะยืนที่ใดก็ได้

6. การเปลี่ยนส่ง ให้เปลี่ยนการส่งลูกเมื่อฝ่ายส่งลูกผิดกติกา หรือ ฝ่ายรับทำลูกให้ตกบนพื้นที่ของฝ่ายส่งได้

7. การขอเวลานอก ขอได้เซตละ 1 ครั้งๆ ละ 1 นาที

8. การนับคะแนน การแข่งขันใช้แบบ 2 ใน 3 เซต ในเซตที่ 1 และเซตที่ 2 จะมีคะแนนสูงสุด 15 คะแนน ทีมใดได้ 15 คะแนนก่อน จะเป็นผู้ชนะในเซตนั้นๆ ทั้ง 2 เซต จะไม่มีดิวส์ หากทั้งสองทีมได้ 13 ก่อน หรือ 14 เท่ากัน พักระหว่างเซต 2 นาที ถ้าเสมอกัน 1:1 เซต ให้ทำการแข่งขันเซตที่ 3 ด้วยไทเบรก โดยเริ่มด้วยการเสี่ยงใหม่ โดยใช้คะแนน 6 คะแนน ทีมใดได้ 6 คะแนนก่อนเป็นผู้ชนะ แต่จะต้องแพ้ชนะอย่างน้อย 2 คะแนน ถ้ายังไม่แพ้กันไม่น้อยกว่า 2 คะแนน ก็ให้ทำการแข่งขันอีก 2 คะแนน แต่ไม่เกิน 8 คะแนน เช่น 8:6 หทรือ 8:7 ถือเป็นการยุติการแข่งขันระบบไทเบรก เมื่อฝ่ายใดก็ตามได้ 3 คะแนน และขอเวลานอกได้เซตละ 1 ครั้ง ครั้งละ 1 นาที สำหรับไทเบรก ขอเวลาได้ 1 ครั้ง ครั้งละ 30 วินาที

ติดตามเว็บไซต์ที่น่าสนใจเพิ่มเติม : เว็บดูบอลสดฟรี

อ่านบทความเพิ่มเติม >>> กีฬาบาสเกตบอล