กีฬาพื้นบ้านสุดแปลก ที่มีในแข่งขันชิงเหรียญทองในกีฬาซีเกมส์ AEC

ชัตเติลค็อก (Shuttlecock) กีฬาพื้นบ้านสุดแปลก ในซีเกมส์ แข่งขันชิงเหรียญทองในกีฬาซีเกมส์ 

กีฬาพื้นบ้านสุดแปลก อาจเป็นกีฬาที่ไม่ค่อยมีใครคุ้นหูนัก และอาจจะทำให้นึกภาพไม่ออก ว่าจริง ๆ แล้ว กีฬาพื้นบ้านชนิดนี้ เล่นกันยังไง ? เพื่อให้เข้าใจง่ายอย่างรวดเร็วที่สุด มันคือกีฬาที่ผสมระหว่าง เชปักตะกร้อ กับ แบดมินตัน โดยจะมีการใช้เท้าเตะ และทำแต้มด้วยการส่งลูกขนไก่ ที่คล้าย ๆ กับลูกแบดมินตัน แทนที่ลูกตะกร้อ ไปยังเขตแดนฝ่ายตรงข้าม เพื่อทำแต้มให้ได้

กีฬาชนิดนี้ถูกบรรจุ ในโควตากีฬาพื้นบ้านของ สปป. ลาว ในซีเกมส์ปี 2009 ที่กรุงเวียงจันทน์ โดยในครั้งนั้นมีการชิงเหรียญทองกันถึง 7 เหรียญ ทั้งประเภท ทีมชาย, ทีมหญิง, ชายเดี่ยว, หญิงเดียว, ชายคู่, หญิงคู่, และคู่ผสม ซึ่งที่สุดแล้วเป็น เวียดนาม กวาดไป 4 เหรียญทอง และ ลาว อีก 3 เหรียญทอง ขณะที่ไทยทำได้ดีที่สุดแค่การคว้าเหรียญเงินไป 4 เหรียญเท่านั้น ขณะที่การแข่งขัน ซีเกมส์ 2021 ที่เวียดนามเป็นเจ้าภาพในปี 2022 (เพราะเลื่อนมา 1 ปีจากสถานการณ์ COIVD-19) นี้ พวกเขาก็ได้บรรจุกีฬาชนิดนี้ลงไปให้แข่งขันในฐานะกีฬาพื้นบ้านเช่นกัน 

แล้วกีฬา ชัตเติลค็อก เป็นกีฬาบ้านบ้านของประเทศไหนกันแน่ หลังจากที่ได้มีการค้นหาข้อูลมา พบกว่า ถึงแม้ ชัตเติลค็อก จะเป็นนิยมในลาวและเวียดนาม แต่แท้จริงแล้วทั้งสองประเทศก็ได้รับอิทธิพล การเตะลูกชัตเติลค็อกมาจากประเทศจีน

ซึ่งมีบันทึกโดย Chu Minyi และ Louis Laloy ในปี 1910 ว่า “ชัตเติลค็อก” หรือ “jianzi, 毽子” ถือเป็นหนึ่งในกิจกรรมงานอดิเรกของชาวจีนแทบทุกวัยทั้งเด็กทั้งผู้ใหญ่จะตะโกนหาแต่ชัตเติลค็อกมาหลายศตวรรษ  กีฬาพื้นบ้านสุดแปลกในซีเกมส์

วิธีการเล่นก็มีหลากหลาบแบบ ทั้งเล่นแบบคนเดียว คือเดาะลูกไปเรื่อย ๆ เหมือนกับเดาะฟุตบอล หรืออาจจะแข่งขันกันแบบคู่ หรือเล่นเป็นกลุ่มก็ได้

เป้าหมายของเกมนี้ คือการพยายามทำให้ลูกขนไก่ลอยอยู่ในอากาศและไม่ตกพื้น ต้องใช้เท้าอย่างเดียว โดยเหตุผลที่ทำให้ชัตเติลค็อกเป็นที่นิยมอย่างมาก ก็เพราะใช้อุปกรณ์ที่เล่นง่าย เพียงแค่มีลูกขนไก่ หรือใช้แค่ขนไก่ขนนกจำนวนหนึ่ง ยางรัด และกระดาษแข็งสำหรับทำหัวของลูก เท่านี้ก็จะได้ลูกขนไก่ สำหรับกิจกรรม ที่แสนง่าย แถมยังเล่นง่ายอีกด้วย ที่สำคัญ พวกเขาบอกว่ามันเป็นกิจกรรมที่สนุกมาก

บางคนที่เล่นกีฬานี้เก่ง ๆ สามารถเดาะลูกได้มากถึง 1000 ครั้งโดยที่ลูกไม่ตกพื้นเลย

แน่นอนว่า ประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่าง เวียดนาม ลาว หรือไทย ล้วนได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมมาจากประเทศจีนไม่น้อย ด้วยความที่เป็นกีฬางบประหยัด ใช้อุปกรณ์ไม่กี่ชิ้น ก็สามารถเล่นได้หลายคน จึงไม่แปลก ทำไม ชัตเติลค็อก จึงกลายเป็นที่ฮิตในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

กีฬาพื้นบ้านสุดแปลก

อาร์นิส (Arnis)  กีฬาสุดแปลกในซีเกมส์ 2019 ที่เจ้าภาพโกยเหรียญ

ย้อนไปเมื่อ ซีเกมส์ 2019 ที่ ฟิลิปปินส์ เป็นเจ้าภาพ กีฬา อาร์นิส ได้รับการพูดถึงโดยเฉพาะในโลกโซเชียลของประเทศไทยเป็นอย่างมาก เพราะเราแทบไม่เคยเห็นและไม่เข้าใจว่ากีฬาชนิดนี้แข่งกันอย่างไร จนกระทั่งฟิลิปปินส์ได้บรรจุมันลงไปในฐานะกีฬาพื้นบ้าน และการแข่งขันในครั้งนั้น ก็กลายเป็นคลิปไวรัล ไปในทันที

เหตุก็เพราะ มีภาพของการแข่งขัน เผยว่า คนสองคนถืออุรปกรณ์คล้ายไม้คนละอัน จากนั้นก็ไล่เคาะหัวกันไปมา หลายคนที่มองเห็นอาจจะคิดว่า มันคือกีฬาที่ตลก แต่จริง ๆ แล้ว เบื้องลึกของกีฬาที่ชื่อว่า อาร์นิส นั้นไม่ธรรมดาเลย

ที่ฟิลิปปินส์ กีฬานี้มีชื่อว่า การประลองแห่งความตาย ซึ่งเป็นศิลปะการต่อสู้ประจำชาติของพวกเขา ความโดดเด่นของกีฬานี้อยู่ที่การเคลื่อนไหว และการกวัดแกว่งอาวุธ พร้อมด้วยการใช้เทคนิคในการปัดป้องและหลบลึก

ซึ่งในอดีตพวกเขาเคยใช้เป็นอาวุธ ไม่ใช่กระบองหรือไม้อย่างที่เห็น แต่เป็นมีดสั้น นึกภาพก็จะเห็นคนถือมีดคนละเล่ม ยืนดวลแทงกันจนว่าจะมีใครสักคนล้มลงไปสู้ไม่ไหว ด้วยเหตุนี้เอง มันถึงถูกเรียกว่าเป็น การประลองแห่งความตาย

โดยหลัก ๆ แล้วชาวฟิลิปปินส์จะฝึกศิลปะการต่อสู้นี้ไปเพื่อป้องกันการรุกรานจากประเทศสเปน ที่นำโดยกองทัพของยอดนักเดินเรืออย่าง เฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน ซึ่งใช้ปืนคาบศิลาเป็นอาวุธ

แม้ว่ามีดจะสู้ปืนไม่ได้ แต่ อาร์นิส ก็ยังคงเป็นความภูมิใจของคนฟิลิปปินส์ และ อาร์นิส ถูกพัฒนาต่อจากนั้นด้วยการนำวิชาดาบแบบสเปนมาผสมผสาน รวมถึงความไวของฟุตเวิร์กในการหลบหลีกด้วย เนื่องจากแรงในการเข้าปะทะของ อาร์นิส นั้นไม่ได้เกิดจากการใช้พละกำลัง (ยกตัวอย่างเช่น การง้างหมัดชกแบบสุดแรง) แต่เกิดจากการใช้ท่าทางในการเคลื่อนไหวเข้าโจมตี เราจึงได้เห็นการแข่งขัน อาร์นิส ในแบบที่ดูแปลก ๆ ไม่คล้ายศิลปะการต่อสู้อื่น ๆ เพราะเน้นการยืนประชิดและใช้ไม้กระบองหวดกันแบบไม่ยั้ง

จากศิลปะการต่อ กลายมาเป็นกีฬาพื้นบ้านครั้งแรกในปี 1991 ในซีเกมส์ ที่ ฟิลิปปินส์ เป็นเจ้าภาพ

กีฬาพื้นบ้านสุดแปลก

ชินลง (Chinlone) กีฬาพื้นบ้านสุดแปลก กีฬาโบราณของพม่าที่ผสมผสานระหว่างกีฬากับการเต้นรำ

ชินลง เป็นกีฬาหนึ่งที่บอกได้ไม่เต็มปากว่า แปลกตา เพราะ ชินลง มีการใช้ลูกเชปักตะกร้อในการเล่นเหมือนกับ กีฬาตะกร้อ แต่อาจจะมีความแตกต่างตรงที่ “ต้นกำเนิด” ของ ชินลง คือมาจากประเทศเมียนมา เมื่อกว่า 1,500 ปีก่อน

หากตระกร้อคือการเสิร์ฟที่รุนแรงต้องใช้การกระโดขั้นฟาดที่เร็วแรงจนมองไม่ทัน แต่ชินลง มีความต่างกว่า เพราะมันจะคล้ายกับตะกร้อ ของบ้านเรา แต่มีการผสมท่าทาง ที่คล้าย ๆ การร่ายรำเข้าไปด้วย ซึ่งในขณะที่ตะกร้อมีตัวเสิร์ฟ ตัวชง ตัวฟาด แต่ชินลง มีผู้เล่นที่สำคัญมาก ๆ ถูกเรียนว่า มินตา ที่แปลว่า เจ้าชาย เจ้าหญิง

โดย มินตา จะเป็นคนที่ยืนอยู่ตรงกลางวง คอยควบคุมจังหวะการเล่นของคนอีก 6 คน ที่อยู่ในวงนอก และนอกจากจะต้องคุมเกมคุมจังหวะแล้ว ต้องเป็นคนที่โชว์ลีลาท่าสวย เช่นการไขว้ การตอกส้น หรือใด ๆ ก็ตามที่จะเป็นการผสมการร่ายรำเข้าไปด้วย

สำหรับซีเกมส์ ชินลง ได้ถูกบรรจุลงไปในการแข่งขัน ปี 2013 ที่ประเทศเมียนมา เป็นเจ้าภาพ พวกเขากวาดไปถึง 6 จาก 8 เหรียญทอง ก่อนจะถูกบรรจุเข้าไปอีกครั้งในซีเกมส์ครั้งที่ 2017 ที่มาเลเซียเป็นเจ้าภาพ เพราะด้วยวิธีการเล่นที่คล้าย ๆ ตะกร้อวง ทำให้ทีมชาติไทยของเราก็ได้เหรียญทองมาเช่นกันจากกีฬาชนิดนี้

สำหรับวิธีการคิดคะแนน หลัก ๆ จะมีวิธีคิดด้วยกัน 6 ประเภท เริ่มตั้งแต่ประเภทท่าพื้นฐาน ที่ทุกคนในทีมจะต้องเตะคนละ 1 ท่าพื้นฐานสลับหมุนเวียนกันจนครบจึงจะได้ 1 คะแนน, ต่อด้วย ท่าเดียว ที่แต่ละคนจะเตะท่าเดียวกันจนครบถึงจะได้ 1 คะแนน, ประเภทคนเดียว 6 ท่า แต่ละคนจะต้องเตะท่าพื้นฐานคนละ 6 ท่าจึงจะได้ 1 คะแนน, ประเภทท่ายาก 6 คน ที่แต่ละคนจะต้องเตะท่ายากคนละ 1 ท่าสลับหมุนเวียนกันจนครบ 6 ท่าจึงจะได้ 1 คะแนน

ทุกประเภทที่กล่าวมาจะแข่งขันครั้งละ 2 ทีม ทีมละ 3 เซต เซตละ 30 นาที ทีมใดชนะไปก่อน 2 ใน 3 เซต ก็จะเป็นฝ่ายชนะไป

แน่นอนว่า ประเทศที่เก่งและเชี่ยวชาญ ก็จะเป็นประเทศใดไปได้ นอกจาก ไทย มาเลเซีย และ เมียนมา ซึ่งถนัดในการแข่งขันชินลงเป็นเงาตามตัว เนื่องจากวิธีการเล่นคล้าย ๆ กัน อาจมีการปรับเปลี่ยนบ้างเล็กน้อย แต่สุดท้ายแล้ว ทั้ง 3 ชาติ ก็ยังเป็นชาติที่สลับกันคว้าเหรียญทองมาได้เยอะ

 

ติดตามเว็บไซต์ที่น่าสนใจเพิ่มเติม : มังงะ

อ่านบทความเพิ่มเติม >>> ทีมเต็งบอลโลก 2022