ประวัติเทเบิลเทนนิส ทำไมกีฬา ปิงปอง ถึงใช้ชื่อ เทเบิลเทนนิส?

ประวัติเทเบิลเทนนิส

ประวัติเทเบิลเทนนิส จุดเริ่มต้นของกีฬาปิงปอง ติดตามข้อมูลน่ารู้ที่น่าสนใจ

ตามหลักฐานที่มีให้ค้นคว้า ทำให้ได้รู้ว่า ประวัติเทเบิลเทนนิส นั้นได้เริ่มขึ้นที่ประเทศอังกฤษ เมื่อปี ค.ศ. 1890 โดยอุปกรณ์ที่ใช้เล่น จะมีไม้หนังสัตว์ ที่รูปทรงจะเหมือนกับไม้เทนนิสในปัจจุบัน เพียงแต่ว่าแทนที่จะใช้เอ็นขึง ก็ใช้เป็นแผ่นหนังหุ้มไว้ ส่วนลูกที่ใช้ดีก็จะเรียกว่า ลูกเชลลูลอยด์ เมื่อผู้เล่นตีลูกกระทบถูกพื้นโต๊ะกับไม้ตี ก็จะมีเสียง ปิ๊ก ป๊อก เลยกลายเป็นว่าผู้คนก็ต่างเรียกกีฬานี้ว่า ปิงปอง Ping Pong

ต่อมาก็ได้มีการวิวัฒนาการเกิดขึ้น โดยไม้หนังสัตว์นั้นก็ได้มีการเปลี่ยนเป็นแผ่นไม้แทน ซึ่งทำให้ตีได้ดีขึ้น จากนั้นมากีฬานี้ก็กลายเป็นที่แพร่หลายในกลุ่มประเทศยุโรป สำหรับวิธีการเล่นในสมัยนั้น ช่วงตอนต้น จะเป็นการเล่นแบบยัน และแบบดันกด ต่อมาได้พัฒนาเป็นการเล่นแบบยัน และการเล่นถูกตัด ซึ่งวิธีนี้เองก็เป็นวิธีที่เล่นกันส่วนใหญ่และนิยมมากในแทบยุโรป แพร่หลายมากในประเทศต่าง ๆ ทั่วยุโรป

การจับไม้ก็มีการจับไม้อยู่ 2 ลักษณะ คือ จับไม้แบบจับมือ (Shakehand) ซึ่งเราเรียกกันว่า “จับแบบยุโรป” และการจับไม้แบบจับปากกา (Pen-holder) ซึ่งเราเรียกกันว่า “จับไม้แบบจีน” นั่นเอง

จากนั้นมาก็ได้มีการวิวัฒนาการอีกในปี ค.ศ. 1900 เริ่มเปลี่ยนมาใช้ไม้ปิงปองแบบติดยางเม็ด และวิธีการเล่นแบบรุกหรือบุกโจมตี ก็เริ่มมีบทบาทมากขึ้น ในยุคนี้เอง เป็นยุคของ วิคเตอร์ บาร์น่า (Victor Barna) อย่างแท้จริง เขาคือชาวฮังการี ที่เป็นแชมเปี้ยนโลกประเภททีม รวม 7 ครั้ง และประเภทชายเดี่ยว 5 ครั้ง ในปี ค.ศ. 1929-1935 ยกเว้นปี 1931 ที่ได้ตำแหน่งรองเท่านั้น

ในยุคนี้อุปกรณ์การเล่น โดยเฉพาะไม้มีลักษณะคล้าย ๆ กับไม้ในปัจจุบันนี้ วิธีการเล่นก็เช่นเดียวกัน คือมีทั้งการรุก (Attack) และการรับ (Defensive) ทั้งด้าน Forehand และ Backhand การ จับไม้ก็คงการจับแบบ Shakehand เป็นหลัก ดังนั้นเมื่อส่วนใหญ่จับไม้แบบยุโรป แนวโน้มการจับไม้แบบ Pen-holder ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปมีน้อยมากในยุโป ในระยะนั้น เรียกได้ว่าว่ายุโรปเป็นศูนย์รวมของกีฬาปิงปองอย่างแท้จริง

ประวัติเทเบิลเทนนิส

ประวัติเทเบิลเทนนิส ทำไมกีฬา ปิงปอง ถึงใช้ชื่อ เทเบิลเทนนิส?

เรื่องมันก็มีอยู่ว่า ในปี ค.ศ. 1922 ได้มีบริษัทค้าเครื่องกีฬา ดันไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า โดยใช้คำว่า “PINGPONG” ด้วยเหตุนี้เอง กีฬาปิงปองนี้จึงต้องเปลี่ยนชื่อมาเป็น “TABLE TENNIS” เพราะไม่สามารถใช้ชื่อปิงปองได้ พวกเขาจดทะเบียนได้ประการหนึ่ง และเพื่อไม่ใช่เป็นการโฆษณาสินค้าอีกประการหนึ่ง

และแล้วในปี ค.ศ. 1926 จึงได้มีการประชุมก่อตั้งสหพันธ์เทเบิลเทนนิสนานาชาติ (INTERNATIONAL TABLETENNIS FEDERATION : ITTF) ขึ้นที่กรุงลอนดอนในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1926 ภายหลังจากการได้มีการปรึกษาหารือในขั้นต้นโดย ด็อกเตอร์ จอร์จ เลฮ์แมนน์ (Dr.George Lehmann) ที่ประเทศเยอร์มัน กรุงเบอร์ลิน เดือนมกราคม ค.ศ. 1926 ในปีนั้นเอง การแข่งขันเทเบิลเทนนิสแห่งโลก ครั้งที่ 1 ก็เกิดขึ้น พร้อมกับการก่อตั้งสหพันธ์ ฯ

โดยมี อีวอร์ มองตากู เป็นประธานคนแรก ในช่วงปี 1940 นี้ ยังมีการเล่นและจับไม้ ที่สามารถจำแนกออกเป็น 3 ลักษณะดังนี้ 1. การจับไม้ เป็นการจับแบบจับมือ
2. ไม้ต้องติดยางเม็ด 3. วิธีการเล่นเป็นวิธีพื้นฐาน คือ การรับเป็นส่วนใหญ่ ยุคนี้ยังจัดได้ว่าเป็น “ยุคของยุโรป” อีกเช่นเคย

ในปี ค.ศ. 1950 จึงเริ่มเป็นยุคของญี่ปุ่นซึ่งแท้จริงมีลักษณะพิเศษประจำดังนี้คือ การตบลูกแม่นยำและหนักหน่วง การใช้จังหวะเต้นของปลายเท้า และต่อมาในปี ค.ศ. 1952 ญี่ปุ่นได้เข้าร่วมการแข่งขันเทเบิลเทนนิสโลกเป็นครั้งแรก ที่กรุงบอมเบย์ ประเทศอินเดีย และต่อมาปี ค.ศ. 1953 สาธารณรัฐประชาชนจีน ก็ได้เข้าร่วมการแข่งขันเป็นครั้งแรกที่กรุงบูคาเรสต์ ประเทศรูมาเนีย จึงกล่าวได้เต็มปากว่า กีฬาปิงปองได้กลายเป็นกีฬาที่แข่งกันกันระดับโลก ที่แท้จริงปีนี้นั่นเอง

การแข่งขันอันดุเดือด วิธีการจับไม้และยุทธวิธีการเล่น ของคนชาติต่าง ๆ 

ในยุค 1952 นี้เอง ญี่ปุ่นใช้การจับไม้แบบจับปากกา ใช้วิธีการเล่นแบบรุกโจมตีอย่างหนักหน่วงและรุนแรง โดยอาศัยอุปกรณ์เข้าช่วย เป็นยางเม็ดสอดไส้ด้วยฟองน้ำเพิ่มเติม จากยางชนิดเม็ดเดิมที่ใช้กันทั่วโลก

การเล่นรุกของยุโรปเน้นใช้ความแม่นยำและช่วงตีวงสวิงสั้น ๆ เท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้บ่า ข้อศอก และข้อมือเท่านั้น ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับญี่ปุ่นซึ่งใช้ปลายเท้าเป็น ทว่าศูนย์กลางของการตีลูกแบบรุกเป็นการเล่นแบบ “รุกอย่างต่อเนื่อง” ซึ่งวิธีนี้สามารถเอาชนะวิธีการเล่นของยุโรปได้ การเล่นโจมตีแบบนี้เป็นที่เกรงกลัวของชาวยุโรปมาก เปรียบเสมือนการโจมตีแบบ “Kamikaze” การบินโจมตีของฝูงบินหน่วยกล้าตายของญี่ปุ่น

ซึ่งเป็นที่กล่าวขวัญในญี่ปุ่นกันว่า การเล่นแบบนี้เป็นการเล่นที่เสี่ยงและ กล้าเกินไปจนดูแล้วรู้สึกว่าขาดความรอบคอบอยู่มาก แต่ญี่ปุ่นก็เล่นวิธีนี้ได้ดี โดยอาศัยความสุขุมและ Foot work ที่คล่องแคล่วจนสามารถครองตำแหน่งชนะเลิศถึง 7 ครั้ง โดยมี 5 ครั้งติดต่อกัน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1953-1959

สำหรับในยุโรปนั้นยังจับไม้แบบ Shakehand และรับอยู่ จึงกล่าวได้ว่าในช่วงแรก ๆ ของปี ค.ศ. 1960 ยังคงเป็นจุดมืดของนักกีฬายุโรปอยู่นั่นเอง ต่อมาในปี ค.ศ. 1960 เริ่มเป็นยุคของจีน ซึ่งสามารถเอาชนะญี่ปุ่นได้ โดยวิธีการเล่นที่โจมตีแบบรวดเร็ว ผสมผสานกับการป้องกัน

ในปี 1961 ได้จัดการแข่งขันเทเบิลเทนนิสชิงชนะเลิศ ครั้งที่ 26 ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน จีนเอาชนะญี่ปุ่น ทั้งนี้เพราะญี่ปุ่นยังใช้นักกีฬาที่อายุมาก ส่วนจีนได้ใช้นักกีฬาที่หนุ่มสามารถเล่นได้อย่าง รวดเร็วปานสายฟ้าทั้งรุกและรับ การจับไม้ก็เป็นการจับแบบปากกา โดยจีนชนะทั้งประเภทเดี่ยวและทีม 3 ครั้งติดต่อกัน ทั้งนี้เพราะจีนได้ทุ่มเทกับ การศึกษาการเล่นของญี่ปุ่น ทั้งภาพยนตร์ที่ได้บันทึกไว้และเอกสารต่าง ๆ

โดยประยุกต์การเล่นของญี่ปุ่น เข้ากับการเล่นแบบสั้น ๆ แบบที่จีนถนัดกลายเป็นวิธีการเล่นที่กลมกลืนของจีนดังที่เราเห็นในปัจจุบัน นั่นเอง

table tennis

ฝั่งยุโรปที่เคยหัวโบราณ ก็เรียนรู้ที่จะเอาชนะฝั่งเอเชียบ้าง

การแข่งขันระหว่างประเทศต่าง ๆ ดูเหมือนว่าประเทศทางฝั่งตะวันออกล้วนศึกษาและนำวิธีการเล่นของประเทศที่เก่งมาพัฒนาต่อยอด เพื่อยกระดับการเล่นมากขึ้น ต่อมายุโรปเองก็ได้มีการนำวิธีการเล่นของชาวอินเดียมาปรับปรุง โดยนำเอานักกีฬาชาวสวีเดนและประเทศอื่น ๆ ซึ่งมีหัวก้าวหน้า ไม่คิดจะรักษาหน้าของตัวเองว่า ไม่เรียนแบบของชาติอื่น ๆ

ดังนั้นชายยุโรปจึงเริ่มชนะชายคู่ ในปี 1967 และ 1969 ซึ่งเป็นนักกีฬาจากสวีเดน ในช่วงนั้นการเล่นแบบรุกยังไม่เป็นที่แพร่หลาย ทั้งนี้เพราะวิธีการเล่นแบบรับได้ฝังรากในยุโรป จนมีการพูดกันว่านักกีฬายุโรปจะเลียนแบบการเล่นลูกยาวแบบญี่ปุ่นนั้นคงจะไม่มีทางสำเร็จ แต่การที่นักกีฬาของสวีเดนได้เปลี่ยนวิธีการเล่นแบบญี่ปุ่นได้มีผลสะท้อน ต่อการเปลี่ยนแปลงของเยาวชนรุ่นหลังของยุโรปเป็นอย่างมาก และแล้วในปี 1970 จึงเป็นปีของการประจันหน้าระหว่าง ผู้เล่นชาวยุโรป และ ผู้เล่นชาวเอเชีย

ช่วงระยะเวลาได้ผ่านไปประมาณ 10 ปี ตั้งแต่ 1960-1970 นักกีฬาของญี่ปุ่นได้แก่ตัวลง ในขณะที่นักกีฬารุ่นใหม่ของยุโรปได้เริ่มเฉิดฉายเก่งขึ้น และสามารถคว้าตำแหน่ง ชนะเลิศชายเดี่ยวของโลกไปครองได้สำเร็จ ในการแข่งขันเทเบิลเทนนิสเพื่อความชนะเลิศแห่งโลก ครั้งที่ 31 ณ กรุงนาโกน่า ในปี 1971 โดยนักเทเบิลเทนนิส ชาวสวีเดน ชื่อ สเตลัง เบนค์สัน เป็นผู้เปิดศักราชให้กับชาวยุโรป

ภายหลังจากที่นักกีฬาชาวยุโรปได้ตกอับไปถึง 18 ปี ในปี 1973 ทีมสวีเดนก็ได้คว้าแชมป์โลกได้จึงทำให้ชาวยุโรปมีความมั่นใจในวิธีการเล่นที่ตนได้ลอกเลียนแบบและปรังปรุงมา ดังนั้นนักกีฬาของยุโรปและนักกีฬาของเอเชีย จึงเป็นคู่แข่งที่สำคัญ ในขณะที่นักกีฬาในกลุ่มชาติอาหรับและลาตินอเมริกา ก็เริ่มแรงขึ้นก้าวหน้ารวดเร็วขึ้น

มีการให้ความร่วมมือช่วยเหลือทางด้านเทคนิคซึ่งกันและกัน การเล่นแบบตั้งรับ ซึ่งหมดยุคไปแล้วตั้งแต่ปี 1960 เริ่มจะมีบทบาทมากยิ่งขึ้นมาอีก โดยการใช้ความชำนาญในการเปลี่ยนหน้าไม้ในขณะเล่นลูก หน้าไม้ซึ่งติดด้วยยางปิงปอง ซึ่งมีความยาวของเม็ดยางยาวกว่าปกติ การใช้ยาง ANTI – SPI เพื่อพยายามเปลี่ยนวิถีการหมุนและทิศทางของลูกเข้าช่วย

ซึ่งอุปกรณ์ที่ใช้นี้มีส่วนช่วยอย่างมาก ในขณะนี้กีฬาเทเบิลเทนนิส เรียกได้ว่าเป็นกีฬาที่แพร่หลายไปทั่วโลกมีวิธีการเล่นใหม่ ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา ซึ่งผู้เล่นเยาวชนต่าง ๆ เหล่านี้จะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนากีฬาเทเบิลเทนนิส ต่อไป ในอนาคตได้อย่างไม่มีที่วันสิ้นสุดและขณะนี้ กีฬานี้ก็ได้เป็นกีฬาประเภทหนึ่งในกีฬาโอลิมปิก โดยเริ่มมีการแข่งขันในกีฬาโอลิมปิกในปี 1988 ที่กรุงโซล ประเทศสาธารณรัฐเกาหลีเป็นครั้งแรก

ติดตามเว็บไซต์ที่น่าสนใจเพิ่มเติม : เว็บดูบอลสดฟรี

อ่านบทความเพิ่มเติม >>> ประวัติกีฬาโอลิมปิก