ประวัติแชร์บอล ความเป็นมา อุปกรณ์การแข่งขัน และ กติกาแชร์บอล

ประวัติแชร์บอล

ระวัติแชร์บอล ประวัติความเป็นมาของกีฬาแชร์บอล

ประวัติแชร์บอล ไม่มีหลักฐานที่ชัดเจน มาตั้งแต่เมื่อใด แต่ทั้งนี้ ตั้งแต่ในอดีต กีฬาแชร์บอลเป็นเกมกีฬา ที่มุ่งเน้นการปลูกฝัง หรือเป็นการปูพื้นฐานการเล่นกีฬาจำพวกบาสเกตบอล แฮนด์บอล หรือกีฬาประเภทอื่น ๆ โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีทักษะ ด้านการเคลื่อนไหว รวมถึงทักษะการฝึกฝนเบื้องต้น ด้านต่าง ๆ เพื่อเป็นการฝึกความพร้อมของร่างกาย และจิตใจ

ส่วนระเบียบการเล่น หรือกติกา ก็ยังไม่มีระบุขึ้นมาตายตัวเช่นกัน เพียงแต่ยืดถือ กติกาแบบเดียวกันกับ บาสเกตบอล ในบางส่วนมาใช้ โดย อนุโลม ให้เหมาะสมเท่านั้น และจากหลักฐานที่ปรากฎ ผู้ที่คิดค้นกีฬาแชร์บอล ขึ้นมาเล่นคือ พันเอกมงคล พรหมสาขา สกลนคร และได้มีการพัฒนาอย่างแพร่หลาย เนื่องจาก แชร์บอลเป็นกีฬาที่เล่นง่าย

ไม่มีการจำกัดเพศ อาจจะเล่นรวมกันได้ทั้งชายและหญิง ส่วนสถานที่ก็เล่นได้ทุกสนาม ไม่ว่าจะ สนามหญ้า พื้นดิน พื้นซีเมนต์ พื้นไม้ ต่าง ๆ ส่วนลูกบอลที่ใช้ จะเป็นลูกเบตบอล หรือลูกวอลเลย์บอล ถ้าไม่มี ก็จะเป็นการใช้วัสดุอื่นแทน เช่น ม้วนผ้า เป็นลักษณะ กลม ๆ ก็สามารถเล่นได้ ช่วนภาชนะ ที่ใช้รับลูกบอล นอกจากะกร้า ยังสามารถใช้อย่างอื่น ใส่ลูกได้

จุดประสงค์ของกีฬาแชร์บอลนั้น ผู้เล่นแต่ละฝ่าย ต้องช่วยกันรับส่งลูกบอล ให้ผู้เล่นฝ่ายเดียวกัน นำลูกบอล ผ่านฝ่ายตรงข้าม โยนให้ลงตะกร้าของฝ่ายตัวเอง ที่ยืนรออยู่อีกฝั่งตรงข้าม โดยโยนให้เข้าตะกร้ามากที่สุด และทางตรงกันข้าม อีกฝ่ายก็จะต้องป้องกัน ไม่ให้ลูกบอล ส่งข้ามไปเข้าตะกร้า ด้วยเช่นกัน

ปัจจุบัน กีฬานี้ เป็นกีฬาที่นิยม เล่นกันอย่างแพร่หลาย เพราะไม่เพียงเล่นหรือแข่ขงันภายในโรงเรียนประถมและมัธยมศึกษาเท่านั้น ในหน่วยงานต่าง ๆ ไม่ว่าจะภาครัฐบาลหรือเอกชน ก็ต่างให้ความสนใจนิยมเล่นเช่นกัน และจะมีแข่งขัน ทั้งภายในหน่วยงาน หรือระหว่างหน่วยงาน เนื่องจาก กีฬาแชร์บอล เป็นสื่ออย่างหนึ่ง ที่จะเชื่อมความสามัคคี

ประวัติแชร์บอล กติกาแชร์บอล สนามแชร์บอล และอุปกรณ์การแข่งขัน

สนามแชร์บอล

สนามเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 16 เมตร (เส้นหลัง) ยาว 32 เมตร (เส้นข้าง) สนามแบ่งเป็นสองส่วนเท่า ๆ กัน ด้วยเส้นแบ่งแดน ขนาดสนามนี้จะเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม โดยมีบริเวณเขตรอบสนามอย่างน้อย 1 เมตร ถ้าเป็นสนามในร่มความสูงจากพื้นสนามขึ้นไปไม่ควรน้อยกว่า 6 เมตร วงกลมกลางสนาม ที่จุดกึ่งกลางของเส้นแบ่งแดน ให้เขียนวงกลมรัศมี 1.80 เมตร

เขตผู้ป้องกันตะกร้า ที่จุดกึ่งกลางของเส้นหลังทั้งสองด้าน เขียนครึ่งวงกลม รัศมี 3.00 เมตร ในสนามเล่น เขตนี้เรียกว่า เขตผู้ป้องกันตะกร้า เส้นโทษ ถัดจากจุดกึ่งกลางเส้นหลังเข้าไปในสนาม 8.00 เมตร ลากเส้นให้ขนานกับเส้นหลังยาว 50 เซนติเมตร (โดยลากให้กึ่งกลางของเส้นอยู่ที่กึ่งกลางของความกว้าง) เส้นทุกเส้นกว้าง 5 เซนติเมตร (สีขาว) และเป็นส่วนหนึ่งของเขตนั้น

อุปกรณ์การแข่งขัน

เก้าอี้ เป็นเก้าอี้ชนิด 4 ขา มีความแข็งแรงมั่นคง ไม่มีพนักพิง สูง 35-40 เซนติเมตร ขนาดของที่นั่ง กว้าง 30-35 เซนติเมตร หรือเป็นเก้าอี้ที่มีขนาดใกล้เคียงและเป็นชนิดเดียวกันทั้งสองตัว เก้าอี้นี้วางไว้ที่จุดกึ่งกลางของเส้นหลัง โดยให้ขาหน้าของเก้าอี้ทั้งสองขาวางอยู่บนเส้นสนาม ตะกร้า ขนาดสูง 30-35 เซนติเมตร ปากตะกร้าเป็นรูปทรงกลม มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 30-35 เซนติเมตร ทำด้วยหวายที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้เล่น หรือวัสดุอื่น ๆ ที่ไม่เกิดอันตราย มีน้ำหนักเบาเท่ากัน

ลูกบอล ใช้ลูกแชร์บอล หรือลูกฟุตบอลขนาดเบอร์ 4-5 หรือลูกที่ฝ่ายจัดการแข่งขันรับรอง ซึ่งฝ่ายจัดการแข่งขัน จะต้องแจ้งให้ผู้แข่งขันทราบก่อนในระเบียบการแข่งขัน นาฬิกาจับเวลา 2 เรือน ใช้สำหรับจับเวลานอก และเวลาแข่งขัน ใบบันทึกการเข่งขัน ป้ายคะแนน สัญญาณหมดเวลาการแข่งขัน (นกหวีด ระฆัง กริ่ง ฯลฯ) ป้ายบอกจำนวนครั้งของการฟาวล์ (ถ้ามี)

เวลาการแข่งขัน

เวลาการแข่งขัน แบ่งออกเป็น 2 ครึ่ง ครึ่งละ 20 นาที พักระหว่างครึ่ง 5 นาที (เวลาการแข่งขันนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสมกับนักกีฬา โดยต้องแจ้งไว้ในระเบียบการแข่งขันก่อน) เวลาการแข่งขันเริ่มขึ้นเมื่อ ผู้ตัดสินได้โยนลูกบอลขึ้นระหว่างผู้เล่นสองคนของแต่ละฝ่ายที่อยู่ในวงกลม และลูกบอลได้ถูกผู้เล่นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแล้ว

เมื่อเริ่มแข่งขันครึ่งเวลาหลัง และเวลาเพิ่มพิเศษแต่ละช่วงให้เปลี่ยนแดนกัน เวลานอก ให้แต่ละทีมขอเวลานอกได้ครึ่งเวลาละ 2 ครั้ง ครั้งละ 1 นาที การต่อเวลาการแข่งขัน เมื่อผลการแข่งขันเสมอกัน ให้ต่อเวลาเพิ่มพิเศษอีกช่วงละ 5 นาที จนกว่าจะมีผลแพ้ชนะกันหรือจะมีข้อตกลงเป็นอย่างอื่น การขอเวลานอกในเวลาเพิ่มพิเศษ ให้ขอเวลานอกได้ช่วงละ 1 ครั้ง ชุดใดที่มาแข่งขันช้ากว่ากำหนดเวลาการแข่งขัน 15 นาทีให้ปรับเป็นแพ้

ผู้เล่น

  1. ชุดหนึ่งประกอบไปด้วยผู้เล่น 12 คน เป็นผู้เล่นในสนาม 7 คน ผู้เล่นสำรอง 5 คน ผู้เล่นสำรองและเจ้าหน้าที่ประจำทีม ต้องนั่งที่ที่คณะกรรมการจัดไว้ให้
  2. เมื่อเริ่มทำการแข่งขัน ต้องมีผู้เล่นในสนามฝ่ายละ 7 คนและในระหว่างการแข่งขันฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีผู้เล่นน้อยกว่า 5 คน ให้ปรับแพ้
  3. ผู้เล่นสำรองจะเข้าเล่นได้ เมื่อได้รับอนุญาตจากผู้ตัดสินและต้องทำการเปลี่ยนตัวที่บริเวณเส้นแบ่งแดนด้านเดียวกับโต๊ะเจ้าที่จัดการแข่งขัน (เขตเปลี่ยนตัว)
  4. ผู้เล่นแต่ละชุดต้องสวมเสื้อที่มี่สีเดียวกัน และติดหมายเลขที่ด้านหน้า ขนาดสูงไม่น้อยกว่า 10 เซนติเมตร ที่ด้านหลังขนาดสูงไม่น้อยกว่า 20 เซนติเมตร ใช
  5. หมายเลข 1 – 12 สีของหมายเลขต้องแตกต่างจากสีเสื้ออย่างชัดเจน
  6. ห้ามผู้เล่นสวมเครื่องประดับที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้อื่น

ผู้ป้องกันตะกร้า

  1. ผู้ป้องกันตะกร้าเพียงคนเดียวเท่านั้น ที่มีสิทธิ์เข้าไปในเขตป้องกันตะกร้าได้
  2. ผู้ป้องกันตะกร้าสามารถเคลื่อนที่ไปในเขตป้องกันตะกร้าพร้อมกับลูกบอลได้ โดยปราศจากข้อจำกัด ภายในเวลา 3 วินาที
  3. ผู้ป้องกันตะกร้าสามารคออกมาร่วมเล่นในสนามเล่นได้แต่ต้องปฏิบัติตนเหมือนผู้เล่นในสนามทั่ว ๆ ไป
  4. การเปลี่ยนแปลงตำแหน่งผู้ป้องกันตะกร้าโดยไม่แจ้งและละเมิดกติกาอย่างร้ายแรง ผู้ตัดสินจะให้ออกจากการแข่งขัน (ไล่ออก)

ผู้ถือตะกร้า

  1. ต้องอยู่บนเก้าอี้พร้อมกับตะกร้า
  2. ไม่มีสิทธิ์เข้าร่วมเล่นกับผู้เล่นในสนามขณะกำลังแข่งขัน (ส่งข้าง)
  3. ห้ามใช้ตะกร้าหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย กีดกันการป้องกันของผู้ป้องกันตะกร้า (ส่งข้าง)
  4. สามารถเคลื่อนไหวตะกร้าได้ทุกลักษณะ
  5. ผู้ถือตะกร้า ต้องใช้ตะกร้ารับลูกบอลจากการยิงประตูทุกลักษณะทิศทาง และต้องทรงตัวอยู่บนเก้าอี้ได้อย่างมั่นคง

เขตผู้ป้องกันตะกร้า

  1. เขตป้องกันตะกร้าเป็นพื้นที่ของป้องกันตะกร้าเพียงคนเดียวเท่านั้น
  2.  ผู้เล่นในสนามเข้าไปในเขตป้องกันตะกร้า จะถูกลงโทษดังนี้
    2.1 ฝ่ายป้องกัน เข้าไปในขณะที่มีการยิงประตู ถ้าลูกบอลลงตะกร้าให้ได้คะแนน ถ้าลูกบอลไม่ลงตะกร้าให้ยิงลูกโทษ
    2.2 ฝ่ายป้องกันเข้าไปในขณะที่ไม่มีการยิงประตู (ส่งข้าง)
    2.3 ฝ่ายรุก เข้าไปในเขตป้องกันตะกร้าของฝ่ายตรงข้าม (ส่งข้าง)
  3. ลูกบอลที่วาง หรือกลิ้งอยู่ในเขตป้อกันตะกร้าเป็นผู้ป้องกันตะกร้า และจะต้องเล่นอย่างทันที

การเล่นลูกบอล อนุญาตให้ผู้เล่นกระทำ ดังนี้

  1. จับ ตี ปัด กลิ้ง ส่ง หรือขว้างลูกบอลด้วยมือ แขน ศีรษะ หรือลำตัวบริเวณเหนือสะเอวขึ้นไป
  2. ครอบครองลูกบอลด้วยมือเดียวหรือสองมือ หรือกดลูกบอลที่อยู่บนพื้นสนาม หรือโยนลูกบอลขึ้นในอากาศได้ภายในเวลาไม่เกิน 3 วินาที
  3. ถือลูกบอลและเคลื่อนไหวไปมาได้ด้วยการหมุนตัวโดยมีเท้าหลัก
  4. กระโดดรับ ส่ง หรือยิงประตู
  5. ใช้ลำตัวบังคู่ต่อสู้ ในขณะที่กำลังครอบครองลูกบอลอยู่

ติดตามเว็บไซต์ที่น่าสนใจเพิ่มเติม : อนิเมะ

อ่านบทความเพิ่มเติม >>> บอลโลก 2022